หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยท่านจารอะไรลงบนเสือ? วันนี้ขอนำก้นเสือแบบเขี้ยวรูมาให้ชมมาให้ลองศึกษากันครับ (เขี้ยวรู คือ เขี้ยวเสือที่ตัดมาทั้งฟัน จะมีรูอยู่กลางเขี้ยวคือรูประสาทฟัน) การจารยันต์อักขระต่างๆนั้น จะเป็นการเขียนแบบภาษาขอม ถ้าอ่านขอมได้ก็อ่านยันต์ออกครับ
ก้นเสือของหลวงพ่อปานแบบเขี้ยวรูตามแบบมาตรฐาน หันหน้าขึ้นฟ้าจะมีการเขียนยันต์โดยปกติอยู่สามตัว เขียนแบบนี้ ตามตำแหน่งนี้เท่านั้น คือ
1) อุ หรือ อุโองการ จะอยู่ด้านบนของรู
2) กอหญ้า จะอยู่ข้างรูเขี้ยวสองข้างซ้ายขวา (ผมสันนิษฐานว่าจะเป็นยันต์ ตัวเฑาะว์ลดรูป)
3) ฦ ฦา อ่านว่า ฤ "รึ" ฤา "รือ" จะอยู่ด้านล่างของรู (ผมสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นยันต์บูชาครูบาอาจารย์ ครูฤาษี)
การนำเขี้ยวมาแกะ เสือหลวงพ่อปาน จะแกะจากเขี้ยวครึ่งเขี้ยว คือ เขี้ยวส่วนที่อยู่ในเหงือก (เสือแกะของหลวงพ่อนก วัดสังกะสีนั้น จะแกะเต็มเขี้ยว)
ส่วนการแบ่ง เขี้ยวรู กับ เขี้ยวซีก นั้น
“เขี้ยวรู” ง่ายๆ ก็คือ เสือแกะจากเขี้ยวที่มีรูประสาทฟันจากก้นไปถึงหัว โดยการนำเขี้ยวเสือเต็มเขี้ยวมาหั่นครึ่งและนำมาแกะ
ส่วน “เขี้ยวซีก” คือ การเอาเขี้ยวรู มาแบ่งแล้วแกะเป็นเสือ สังเกตว่าจะหลบรูเขี้ยว ดังนั้นโดยทั่วไปเขี้ยวซีกจะมีลักษณะเล็กและผอม มีทั้งก้นกลม หรือ สี่เหลี่ยม ตามเนื้อเขี้ยวที่เหลือ และการแกะของช่าง ก้นเสือของหลวงพ่อปานแบบเขี้ยวซีก ต่างจากแบบเขี้ยวรู โดยการจารนั้นมีอยู่ 3 ลักษณะ(น่าจะขึ้นอยู่กับพื้นที่และหลวงพ่อที่เมตตาลงจารให้)
ลักษณะที่ 1 มียันต์ กอหญ้า เพียงอย่างเดียว (ผมสันนิษฐานว่ายันต์กอหญ้าจะเป็นยันต์ ตัวเฑาะว์ลดรูป) แบบนี้พบเจอได้มากที่สุด
ลักษณะที่ 2 มียันต์ กอหญ้า + ยันต์ ฦ ฦา อ่านว่า ฤ "รึ" ฤา "รือ" (ผมสันนิฐานว่ายันต์ ฦ ฦา น่าจะเป็นยันต์บูชาครูบาอาจารย์ ครูฤาษี) พบเห็นได้น้อย
ลักษณะที่ 3 มียันต์ กอหญ้า + ยันต์ ฦ ฦา + ยันต์ อุ ซึ่งยันต์จารก้นเสือครบสูตรแบบนี้หายากมากๆผมพบเจอไม่เกินสิบตัว
การพิจารณาเสือหลวงพ่อปานต้องดูที่ รูปทรง ศิลป์ ฟอร์มการแกะ ความเก่าตามธรรมชาติของเขี้ยว แต่สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ “รอยจาร” หรือ ลายมือของหลวงพ่อ ส่วนมากรอยจารใต้ฐานจะมี ยันต์ “อุ” อยู่ด้านบน ยันต์ “กอหญ้า” อยู่ซ้ายขวา และ ยันต์ “ฤ ฤา” ด้านล่าง (หากเป็นเขี้ยวซีกโดยปกติจะมีแค่ยันต์กอหญ้า ถ้าพิเศษขึ้นมาจะมีจาร ฤ ฤา) บริเวณตามลำตัวเสือจะเป็นตัวเลขไทย และยันต์อุ
การจดจำลายมือนั้นสำคัญมากที่สุด จากนั้นค่อยพิจารณาถึงศิลป์การแกะของช่าง หากจะแบ่งเสือหลวงพ่อปานแบบลึกๆ นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 6 อย่างคือ
1) อ้าปากจารปกติ
2) หุบปากจารปกติ
3) ศิลป์วัดกลางหรือศิลป์ชาวบ้าน
4) อ้าปากจารขน
5) หุบปากจารขน
6) ศิลป์พิเศษ หรือ เสือตาเม็ด หรือ เสือตาเนื้อ ส่วนลักษณะพิเศษเพิ่มเติมของเสือเช่น หางดาบ หางกริช หางเอส หางกริช มีไข่ (แกะแบบมีลูกอัณฑะ) ฯลฯ
สรุปการพิจารณาเสือหลวงพ่อปาน “สรุปแท้ไม่แท้ที่รอยจารลายมือหลวงพ่อปาน”
กราบบูชาบารมีหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย
วิทยา เสือปิดตา
“หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย” หรือ “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ วัดมงคลโคธาวาส” ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2368 มรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 หลวงพ่อเป็นชาวบางบ่อ ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ หลวงพ่อปานเป็นผู้สร้างเสือหลวงพ่อปาน สุดยอดจักพรรดิ์แห่งเครื่องรางอันดับ 1 ของประเทศในชุดเบญจภาคีเครื่องราง
เสือของท่านดีทางมหาอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ดี ในปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำ ปรากฏเรื่องที่หลวงพ่อปานได้เอาชิ้นหมูเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือที่ตกลงน้ำต่อหน้าพระพักตร์ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าหลวง มีรับสั่งถามว่า “ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?” หลวงพ่อปานทูลตอบว่า “ได้ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้
คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น ”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น” พระพุทธเจ้าหลวงทรงพระราชทานผ้าไตร ผ้ากราบ และได้พระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ” พระราชนิพนธ์เรื่อง ”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงหลวงพ่อปานความตอนหนึ่งว่า “คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ …. เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง 3 บาท ว่า 6 บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก”
o หากมีบัญชี Facebook สามารถใช้ในการสมัครสมาชิกได้
o กรอกอีเมล/เบอร์โทรศัพท์ และรหัสผ่านที่ใช้เข้า Facebook
o กด “ตกลง” ก็จะเป็นสมาชิกเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ได้ทันที
o ใส่ชื่ออีเมล และ รหัสผ่าน และ กดตกลง
o เข้าไปที่อีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ ตรวจสอบอีเมลจาก prapantip@gmail.com เมื่อรับอีเมลแล้วให้กดที่ลิงค์ที่อยู่ในอีเมล เพื่อเข้าระบบ (บางครั้งอีเมล อาจไม่ได้อยู่ที่ Inbox กรุณาตรวจสอบที่ Junk Mail)
o ในครั้งต่อไป สามารถเข้าระบบ โดยกรอกอีเมล และ รหัสผ่าน ที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้
ต้อง เห็นรายละเอียดชัดเจน ทุกด้าน ทั้งองค์
ควร ลงรูปทุกด้าน (หน้า หลัง ด้านข้าง ด้านบน ด้านล่าง)
ห้าม ลงรูปไม่คมชัด ไม่ละเอียด เบลอ
ห้าม วางพระเครื่อง รวมหลายๆ องค์ ในภาพเดียว
ห้าม ลงรูปพระไม่ซ้ำกันใน 1 ประกาศ
สิ่งสำคัญ: ห้ามลงพระซ้ำกับพระที่เคยลงประกาศไปแล้ว และยังแสดงอยู่ในหน้าเว็บไซด์
สินค้าที่ห้ามลงประกาศ: ชุดพระในคอ, งานทำบุญ , ข่าวพระเครื่อง, โฆษณาร้านพระ, ใบรับประกันร้านพระ, ข่าวสารพระเครื่อง, งานประกวด หรือ สินค้าอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง หากพบว่าลงพระไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามประเภท หรือ ลงสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้อง ทางเว็บไซด์พระพันธุ์ทิพย์ดอทคอม ขอสงวนสิทธิ์ในการลบรายการพระนั้นๆ ออก โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
อ่านเพิ่มเติมที่ ลงรูปพระเครื่องแบบไหน ที่ทำให้คนเข้าชมเยอะ
- ประเภทพระ (เลือกประเภทพระ 1 รายการ) ดูรายละเอียดประเภทพระ
- ชื่อพระ
- ราคา (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- รายละเอียดพระ
- รูปพระ (ลงรูปพระได้ 1-5 รูป)
- รูปถ่ายบัตรประชาชน+หน้าสมุดบัญชีธนาคาร 1 รูป
- พื้นที่/จังหวัด
- ผู้ขาย (ชื่อ/นามสกุล)
- เบอร์โทรศัพท์ (เฉพาะตัวเลขเท่านั้น)
- Line id
สถานะ | รายละเอียด |
---|---|
รอตรวจสอบ | อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล |
ไม่ผ่านการตรวจสอบ | เนื่องจาก ภาพไม่ชัด / ข้อมูลไม่ครบ /ผิดเงื่อนไข (เช่น ลงพระซ้ำ) เมื่อไม่ ผ่านการตรวจสอบจะลบประกาศออกทันที หากต้องการแก้ไขหรือเพิ่มเติมให้ลงใหม่เท่านั้น |
กำลังใช้งาน | พระแสดงหน้าเว็บไซด์แล้ว จนถึงวันที่ ..../...../..... |